วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

SCM


Supply Chain Management คือ ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า โดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกันเพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ องค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน1.การวางแผน คือเป็นกลยุทธ์ขอการจักการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ต้นทุนต่ำลง และมอบคุณภาพและคุณค่าสูงกับลูกค้า2.แหล่งที่มา บริษัทต้องเลือกผู้จัดหาที่น่าเชื่อถืออย่างรอบคอบ3.การผลิต เป็นขั้นตอนที่บริษัทต้องผลิตสินค้าหรือบริการ4.การจัดส่ง การควบคุมการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล5.การคืนกลับ เป็นขั้นตอนที่จัดว่ามีปัญหาที่สุด บริษัทต้องสร้างเครือข่ายสำหรบการรับสินค้าที่บกพร่องและสินค้าที่จัดส่งเกินหลัก 7 ประการในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน1.แบ่งประเภทลูกค้าโดยความต้องการในการบริการ2.กำหนดเครือข่ายการขนส่งและการให้ความสำคัญกับความต้องการในการบริการและกับการทำกำไร3.ฟังสัญญาณของอุปสงค์ของตลาดและการวางแผน4.ทำให้เห็นความแตกต่างของสินค้า5.จัดการแหล่งวัตถุดิบด้วยกลยุทธ์ 6.พัฒนากลยุทธ์เทคโนโลยีห่วงโซ่อุปทาน7.นำวิธีการดำเนินการปฏิบัติงานมาใช้เทคโนโลยี

ประโยชน์ของการทำ SCM
1. การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
2. ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
3. เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น
4. ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
5. ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
6. ปรับปรุงการบริการลูกค้า
การประยุกต์ใช้ SCM พิจารณาจากบทความต่อไปนี้
จากบทความกล่าวถึงการนำ SCM มาใช้ในการแก้ปัญหาในการผลิตและการจัดการ ซึ่งปัญหาในที่นี้คือปัญหาการเคลื่อนไหลของวัตถุดิบ และการมีสินค้าคงเหลือไว้มากเกินไป ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาคือเงินทุนจม เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสมากขึ้น และโรงงานใช้วิธีการผลิตแบบ batch ที่ไม่ทันสมัย ทางาเดินของวัตถุดิบไม่มีคุณภาพ การจัดการกับวัตถุดิบในสายการผลิตไม่ดีพอ โครงสร้างการจัดองค์กรซับซ้อน มีการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันทำได้ลำบาก และส่งผลกระทบต่อต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้นได้
แนวทางในการแก้ปัญหาทั้งหมดคือ การจัดองค์กรระบบกระจายอำนาจ ประกอบด้วยหน่วยต่างๆ หลายๆ หน่วย (Market business units) ซึ่งแต่ละหน่วยนั้นจะมีอำนาจในการจัดการและตอบสนองความต้องการของลูกค้าใน zone ของตนเองได้อย่างเต็มที่ กล่าวคือ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลิตสินค้าได้ตามต้องการ (zone ในที่นี้จะแบ่งเป็น ยุโรป, อเมริกา และ เอเซีย)
แนวทางต่อไปคือการเคลื่อนไหลของสารสนเทศต้องเป็นไปอย่างราบรื่น มีการแบ่งปันข้อมูลกันระหว่างหน่วย supplies และลูกค้าสามารถติดต่อเชื่อมโยงกันได้โดยอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกและทันสมัย

แหล่งที่มา http://prakop-prakop.blogspot.com/2009/11/supply-chain-management-suppliers.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น